ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยสารเคมี

Alternate Text
ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กว่าสามศตวรรษที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข มีการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานหรือ องค์กรระหว่างประเทศด้านการจัดการสารเคมีด้านกำหนด นโยบาย ด้านวิชาการ และองค์กรที่เป็นผู้นำการจัดการสารเคมีมาอย่างต่อเนื่อง เช่น United Nations on Environment Programme : UNEP, World Health Organization : WHO, International Labour Organization : ILO, United Nations Institute for Training and Research : UNITAR และ Swedish Chemical Agency : KEMI ประเทศสวีเดน ผลจากการพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว ก่อให้ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสารเคมีของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยสารเคมี
  • เป็นสมาชิกโครงการระหว่างประเทศว่าด้วยความ ปลอดภัยสารเคมี หรือ International Programme on Chemical Safety (IPCS) ภายใต้โครงการร่วมของ WHO และ ILO ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2528 ผลจาก การเข้าไปเป็น สมาชิก ทำให้ประเทศได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการ ที่นำ ไปพัฒนากลวิธีการดูแลสุขภาพ อนามัยและป้องกันอันตราย จากสารเคมีมากมาย อาทิ เช่น
  • การจัด International chemicals safety cards หรือ ICSC เป็นเอกสารฉบับภาษาไทย
  • การจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยของสารเคมี เพื่อเป็นแกนกลางการประสาน งานระหว่างภาคส่วนต่างๆ พัฒนานโยบายและแผนความปลอดภัยด้านสารเคมีของประเทศให้มีประสิทธิภาพภายใต้แผนแม่บทความปลอดภัยด้านสารเคมีแห่งชาติ
  • เป็นสมาชิกของ Intergovernmental Forum on Chemicals Safety (IFCS) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามมติ การประชุม United Conference on Environmental and Development หรือ UNCED ณ กรุงรีโอเดอจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ปี พ.ศ.2535 ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพจัดประชุม IFCS Forum IV มีศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์ประธานเปิดการประชุม ในการประชุมครั้งนั้น นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุข 10 ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจากประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร IFCS สมัยถัดไป ในการประชุม IFCS Forum V เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณ ประเทศฮังการี คณะกรรมการบริหาร IFCS ได้ถวายรางวัล IFCS Special Recognition Award แด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในฐานะที่ทรงสนับสนุนการสร้างศักยภาพและงานวิจัยอันทรงคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนางานความาปลอดภัยด้านสารเคมีอย่างต่อเนื่อง

    ผลการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IFCS ทำให้ประเทศไทย มีโอกาสนำประเด็นสำคัญจากการประชุมมาขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยด้านสารเคมีของประเทศจนถึงปัจจุบัน อาทิ เช่น ประเด็น Chemicals in Children เป็นต้น
Alternate Text
Alternate Text
ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านวิชาการจัดการ สารเคมี

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับการสนับสนุน จาก UNITAR ศึกษาสถานการณ์การจัดการสารเคมีชองประเทศ และโครงสร้างการบริหารการจัดการสารเคมีในประเทศตลอดวงจร ชีวิตของสารเคมีภายใต้กรอบการพัฒนาศักยภาพและขีดความ สามารถของประเทศเพื่อพัฒนา National Chemicals Management Profile

ผลจากความร่วมมือดังกล่าวทำให้ประเทศไทย มีฐานข้อมูล สถานการณ์การจัดการสารเคมีที่นำไปวิเคราะห์ช่องว่างการจัดการ ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับการ สนับสนุนจาก UNITAR จัดอบรมเรื่อง Training and Capacity Building for the Implement of the GHS ภายใต้ กรอบการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้นำระบบสากล GHS มาปฏิบัติ ตามมติ การประชุม World Summit on Development (WSSD) เมื่อปี 2545 เพื่อเชื่อมโยงนโยบายและวิชาการของภาคส่วนหลักคือ ภาคอุตสาหกรรมเคมี ภาคเกษตร ภาคขนส่ง และภาคผู้บริโภค และพัฒนาศักยภาพผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้และความเข้าใจนำระบบสากล GHS มาใช้ ปัจจุบันภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรม ปศุสัตว์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกกฎระเบียบการแสดงฉลากตามระบบสากล GHS แล้ว

Alternate Text
Alternate Text
ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศสนับสนุน ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีระหว่างประเทศ

ภายหลังจากประเทศไทยและกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ได้รับรอง Strategic Approach to International Chemicals Management (SAICM) ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เสนอให้คณะรัฐมนตรีปรับ ปรุงคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยของสารเคมี เป็น “คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการ สารเคมี” มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีฝ่ายเลขานุการจาก 4 หน่วยงาน คือ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และอธิบดีกรมโรงงาน อุตสาหกรรม รับผิดชอบการพัฒนานโยบายและแผนการจัดการ สารเคมีของประเทศไทยให้สอดคล้องกับการจัดการสารเคมีในประเทศและสากลเพื่อคุ้มครองป้องกันสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม

ในปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบและให้ประกาศใช้แผนยุทธ ศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555 –2564) เพื่อให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติอย่างสอดคล้อง

Alternate Text
Alternate Text
Alternate Text

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เป็นสมาชิกของโครงการความร่วมมือ ของ KEMI ประเทศสวีเดน ภายใต้กรอบความร่วมมือ การพัฒนา การจัดการสารเคมีของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และไทย ที่ให้ความ ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกให้มีการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง เหมาะสม และยั่งยืน กิจกรรมสำคัญ คือ การประชุม Regional Chemicals Management Forum ทุกปี เพื่อให้ภาครัฐมานำเสนอความเคลื่อนไหวการจัดการสารเคมีของประเทศ ความต้องการ ความท้าทาย และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ เพื่อการจัดการสารเคมีที่ดีขึ้น ผลจากการเข้าไปเป็นสมาชิก ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวการจัดการสารเคมีใหม่ๆของประเทศต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของแต่ละประเทศ ที่สามารถนำมาจัดการสารเคมีในประเทศ รวมทั้งได้เครือข่ายการจัดการสารเคมีของภูมิภาค

Alternate Text
Alternate Text
Alternate Text

ภายหลังจาก World Health Assembly (WHA 69) มีมติรับรอง The role of health sectors in the Strategic Approach to International Chemicals Management towards 2020 and beyond เมือปี 2559 ในการประชุม WHA 70 มีมติรับรอง Chemicals Road Maps to enhance health sectors in the Strategic Approach to International Chemicals Management towards 2020 and beyond สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ สมัครเป็นสมาชิก A global chemicals and health network ของ WHO เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จของประเทศสมาชิกที่นำ Chemicals Road Map ไปปฏิบัติ และนำความสำเร็จของประเทศไปแลก เปลี่ยนระหว่างเครือข่าย ซึ่งส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย SAICM ได้เร็วขึ้น

Alternate Text
Alternate Text
Alternate Text
ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมของประเทศเอเชียแปซิฟิก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับการสนับสนุน จาก WHO และ UNEP ให้เป็นประธานร่วมกับกรมควบคุมลพิษ ใน Thematic Working group on toxic chemicals and hazardous substances and solid and hazardous waste ภายใต้กรอบความร่วมมือ Regional forum on environment and health in Asia Pacific countries เพื่อพัฒนาเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสารพิษและสาร อันตรายและของเสียอันตรายของภูมิภาค และสนับสนุนข้อมูล ให้กับ WHO และ UNEP ฝ่ายเลขานุการฯ ของ Regional forum นำไปปรับปรุงกรอบนโยบายและกฎระเบียบและ ยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค ผลจากการเข้าร่วม ดำเนินการ ทำให้สามารถนำงานการจัดการสารเคมีของประเทศ ไปเชื่อมโยงหรือบูรณาการกับยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ของประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลต่อไปยังเป้าหมาย SAICM และ 2030 Sustainable Development Goal (SDGs)

;
Copyright ๑ 2017 Thailand Existing Chemicals Inventory (TECI) All rights reserved