คลังความรู้ด้านความปลอดภัยสารเคมี

Alternate Text
ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนานโยบายและแผนการจัดการสารเคมีของประเทศและศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ ความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีและสารเคมีในผลิตภัณฑ์สุขภาพ พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านนโยบายและด้านวิชาการเกี่ยวกับสารเคมี พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องสารเคมีและปฏิบัติ หน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนา ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี ที่ผ่านมาได้จัดทำเอกสารและข้อมูล เกี่ยวกับการจัดการสารเคมีของประเทศ อาทิ เช่น

ปี 2538 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยเคมีวัตถุ ที่มี ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานและพัฒนาแผนความปลอดภัยของเคมีวัตถุของประเทศ ประเทศไทยได้ดำเนินงานด้านความปลอดภัยวัตถุเคมี ภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยความปลอดภัยเคมีวัตถุแห่งชาติมาแล้ว รวม 2 ฉบับ คือ แผนแม่บทว่าด้วยความปลอดภัยเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540 – 2544) และแผนแม่บทว่าด้วยความปลอดภัยเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2549)

ปี 2549 หลังจากคณะรัฐมนตรี ได้ปรับปรุงคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยเคมีวัตถุ เป็น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อพัฒนานโยบายการจัดการสารเคมีของประเทศให้สอดคล้องกับสภาพบริบทในประเทศและการจัดการสารเคมีระหว่างประเทศ ช่วงปี 2550 – ปัจจุบัน ประเทศไทย ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ รวม 2 ฉบับ คือ

ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านความปลอดภัยสารเคมี สารเคมีที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งผลงานที่เกี่ยวกับประเด็นเชิงนโยบายของยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการสารเคมี หรือ Strategic Approach to International on Chemicals Management : SAICM อาทิ เช่น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดทำข่าวสารความปลอดภัยด้านสารเคมีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวกับองค์ความรู้สารเคมี การจัดการสารเคมี และประเด็นสำคัญอื่น ๆ เพื่อเผยแพร่สื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และนิสิตนักศึกษา ให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสารเคมีทั้งคุณประโยชน์และผลกระทบ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และเกิดการเลือกซื้อเลือกใช้อย่างปลอดภัย

แผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555 – 2564) ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและบทบาทการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ในปี 2560 ในช่วงของแผนปฏิบัติการระยะกลาง (พ.ศ. 2559 – 2561) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 4 ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อการจัดการสารเคมี ครั้งที่ 1 หรือ The First National Conference on Chemicals Management หรือ NCCM- 2017 ภายใต้หัวข้อ “ร่วมขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีไทยให้ปลอดภัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Moving Forwards Sound Chemicals Management for Sustainable Development ระหว่างวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยมานำเสนอผลงานวิชาการใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนำไปต่อยอดสร้างเป็นนวัตกรรมต่อไป รวมทั้ง การนำเสนอบทเรียนความสำเร็จ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการแห่งชาติฯ มาเป็นประธานเปิดการประชุม ผลจากการประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ได้จัดทำเอกสารเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต อาทิ เช่น

นับตั้งแต่ปี 2528 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยสารเคมี หรือ International Programme on Chemical Safety (IPCS) ภายใต้โครงการร่วมขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้จัดทำ International chemicals safety cards หรือ ICSC ฉบับภาษาไทยขึ้นซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ได้ปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน คือ นำระบบสากล GHS มาบูรณาการเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันฐานข้อมูล ICSCs มีทั้งหมด 1,777 สาร (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มกราคม 2560) ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญคือ (1) การเกิดอันตรายการได้รับสัมผัส (2) อันตรายเฉียบพลัน/อาการ (3) การป้องกัน/ข้อปฏิบัติ (4) การปฐมพยาบาล/การดับไฟ (5) การจัดการเมื่อมีการรั่วไหล (6) การบรรจุและติดฉลาก (7) การจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (8) การเก็บรักษา (9) ข้อมูลสำคัญของสารเคมี (10) คุณสมบัติทางกายภาพ (11) ข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (12) ข้อมูลอื่นๆ

วีดิทัศน์ สารจากคณะกรรมการบริหารแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ
ภาพยนตร์ เรื่อง Underkastosen

Copyright ๑ 2017 Thailand Existing Chemicals Inventory (TECI) All rights reserved