ชุดข้อมูลที่บรรจุในตารางทำเนียบ

ชุดข้อมูลที่บรรจุในตารางทำเนียบ

ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ปี 2555 สำหรับสารเดี่ยว และทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ปี 2559 สำหรับสารเดี่ยวและสารผสม ประกอบด้วยข้อมูลหลักรวม 7 ชุด ดังนี้

1. หมายเลข TECI หรือ TECI Number
2. หมายเลข CAS หรือ CAS Number
3. ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ หรือ Common Name
4. ชื่อ IUPAC หรือ IUPAC Name
5. พิกัดศุลกากร หรือ Custom Code (HS)
6. กฎหมายควบคุม หรือ Regulatory Control

สำหรับทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทยปี 2555 จะมีชุดข้อมูลเพิ่มเติมอี 3 ชุด คือ

1. ชื่อภาษาไทย หรือ Name in Thai
2. ปริมาณนำเข้า (Imported Quantity) มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
3. ปริมาณผลิตในประเทศ (Production Quantity) มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
หมายเลข TECI

หมายเลข TECI หรือ TECI Number คือ หมายเลขของสารเคมีที่กำหนด ภายใต้ Thailand Existing Chemicals Inventory (TECI) หรือ ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นตัวเลขอ้างอิงของสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย หรือเพื่อใช้เป็นการกำหนด ID หรือ Identification number ของสารเคมีนั้นที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยมีชุดข้อมูลที่กำหนดเป็นกลุ่มรวมกัน 3 ชุดข้อมูล คือ xx-x-xxxxx ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

ชุดข้อมูลแรก (xx)

คือ ปีที่สารนั้นถูกนำเข้าหรือผลิต แล้วมีการนำเข้าข้อมูลของสารนั้น สู่ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ในกรณีของทำเนียบรายการสารเคมี ปี 2555 ชุดข้อมูลนี้กำหนดให้เป็น 55 ซึ่งย่อมาจาก ปี 2555

คือ ประเภทของสาร โดยให้สารเดี่ยวเป็น 1 สารผสมเป็น 2 และผลิตภัณฑ์เป็น 3 ในกรณีของทำเนียบรายการสารเคมี ปี 2555 ชุดตัวเลขจะเป็น 1 เพราะเป็นสารเดี่ยวทั้งหมด

ชุดข้อมูลที่ 3 (xxxxx)

คือ จำนวนรายการที่ใส่เลขเรียงลำดับ ซึ่งสามารถรองรับจำนวนที่รายการของสารเคมีได้ตั้งแต่ 00001 ถึง 99999 ตามลำดับรายการ ซึ่งในที่นี้ TECI เรียงลำดับรายการสารเคมีตาม CAS number

หมายเลข CAS

หมายเลข CAS หรือ CAS Number คือ กลุ่มรหัสหรือตัวเลขของสารเคมีที่จดทะเบียนกับ Chemical Abstracts Service of the American Chemical Society สำหรับชี้บ่งชนิดของสารเคมี ซึ่งเป็นสากล โดย CAS Number เป็นชุดตัวเลขที่กำหนดโดย Chemical Abstracts Service เพื่อใช้เชื่อมสูตรโครงสร้างกับชื่อดัชนีของ Chemical Abstracts Service กับข้อมูลอื่น โดยแต่ละชุดตัวเลข จะหมายถึง สารที่สามารถแสดงสูตรได้ในเชิงอะตอม การจับของอะตอม และโครงสร้าง 3 มิติ ทั้งนี้ CAS Number ประกอบด้วยตัวเลข 3 ส่วน (xxxxxx-xx-x) ส่วนแรกประกอบด้วยตัวเลขตั้งแต่ 2 หลักขึ้นไป ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก ส่วนสุดท้ายเป็นตัวเลข 1 หลัก ซึ่งใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขทั้งชุดด้วยการคำนวณ

ชื่อสารเคมี

ชื่อสารเคมีที่ใส่ในชุดข้อมูล มี 2 ส่วน คือ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ และชื่อภาษาไทย โดยชื่อสามัญภาษาอังกฤษของสาร คือ ชื่อสารที่เป็น Common name คือ ชื่อสารในภาษาอังกฤษที่นิยมเรียกกันทั่วไป ซึ่งบางส่วนเป็นชื่อที่มีอยู่แล้วตามแหล่งข้อมูลที่ได้มา แต่บางส่วนเป็นชื่อที่เป็น ชื่อทางการค้า หรือ Trade name ทำให้ต้องตรวจสอบชื่อที่นิยมใช้ทั่วไปที่เป็น Common name ด้วยการค้นหาจากแหล่งข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนชื่อสารภาษาไทยนั้น ใช้ชื่อที่มีอยู่แล้วตามแหล่งข้อมูลที่ได้มาเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นชื่อที่นิยมใช้ทั่วไป และส่วนหนึ่งเป็นชื่อทางการค้า จึงต้องทำการสืบค้นหรือค้นหาจากแหล่งข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตเช่นกัน หากไม่มี จะให้ชื่อภาษาไทยด้วยการทับศัพท์ชื่อสามัญภาษาอังกฤษนั้น ยกตัวอย่างเช่น Zinc nitrate hexahydrate ใช้ชื่อภาษาไทย คือ ซิงค์ ไนเตรต เฮกซะไฮเดรต หรือ Diphenylmethane ใช้ชื่อภาษาไทยทับศัพท์ว่า ไดฟินิลมีเธน เป็นต้น

ชื่อ IUPAC

ชื่อ IUPAC หรือ IUPAC Name คือ ชื่อสารเคมีตามที่กำหนดโดย สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งทำการกำหนดชื่อของสารตามสูตรเคมี ที่มีหลักเกณฑ์แน่นอนเป็นสากล จึงทำให้เรียกชื่อสารเคมีได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่ หรือที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบง่าย และที่ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้จะทำให้ทราบชนิดและลักษณะโครงสร้างของสาร เพราะหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างสาร

ตามข้อมูลที่ได้มาทั้งส่วนข้อมูลของสารที่นำเข้าและสารที่ผลิต จะไม่มีการให้ข้อมูลในส่วนของ IUPAC นี้ การดำเนินงานในการใส่ข้อมูล IUPAC Name ของสารแต่ละสาร ทำโดยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นสารที่ไม่ซับซ้อน ชื่อ IUPAC Name ของสารจะสั้น แต่หากเป็นสารที่ซับซ้อน ชื่อ IUPAC Name ของสารนั้น จะมีความยาวและซับซ้อนมาก ยกตัวอย่างเช่น Aluminium sulfate ชื่อ IUPAC Name จะเหมือนกับชื่อสามัญ คือ Aluminium sulfate

พิกัดศุลกากร

พิกัดศุลกากร ที่เป็นข้อมูลนำมาใส่ไว้สำหรับแยกแยะสารในทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทยนี้ เป็นพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์

ระบบฮาร์โมไนซ์ (The International Convention on the Harmonized Commodity Description and Coding System) หรือ HS Convention ควบคุมโดยกลุ่มประเทศสมาชิกในภาคีอนุสัญญา เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ในการกำหนดชื่อและหมายเลข สำหรับการจำแนกของสินค้า (ผลิตภัณฑ์) ที่มีการซื้อขาย ซึ่งพัฒนาและดูแลโดยองค์การศุลกากรโลก (World Custom Organization: WCO)

พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ดำเนินการโดยองค์การศุลกากรโลก จำแนกประเภทสิ่งของเป็น 21 หมวด และ 97 ตอน ประกอบไปด้วยประเภทย่อยประมาณ 5,000 รายการ แต่ละรายการระบุด้วยเลขรหัสพิกัด 6 หลัก ซึ่งเรียกว่า พิกัดศุลกากร ทั้งนี้ การจำแนกพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ มีการจำแนกตามโครงสร้างทางกฎหมาย มีกฎเกณฑ์การจำแนกประเภทของสินค้าที่แน่นอน ระบบฮาร์โมไนซ์ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดพิกัดศุลกากรและจัดเก็บสถิติการค้าระหว่างประเทศของกว่า 200 ประเทศและกลุ่มทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ จำนวนสินค้ามากกว่า 98% ทั่วโลก ได้ถูกจำแนกแล้วในระบบฯ องค์การศุลกากรโลกมีคณะกรรมการทบทวนแก้ไขพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ เป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบปัญหาเชิงนโยบาย ให้คำวินิจฉัยพิกัดฯ พิจารณาประเด็นที่มีการโต้แย้ง และมีการปรับปรุงข้อมูลคำอธิบายพิกัดฯ ทุกๆ 5-6 ปี ประเทศไทยนำข้อบังคับระบบพิกัดศุลกากรแบบฮาร์โมไนซ์ มาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2531

เคมีภัณฑ์ที่มีสารเดี่ยวและสารผสมครอบคลุมสินค้าในหมวดที่ 5 (ตอนที่ 25-27) และหมวดที่ 6 (ตอนที่ 28-38) ตามการจัดสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์ โดยมีประเภทหรือกลุ่มของสารเคมีที่อยู่ในแต่ละตอนของพิกัดศุลกากรดังกล่าว มีดังนี้

หมวด 5 ผลิตภัณฑ์แร่

ตอนที่ 25 เกลือ กำมะถัน ดิน และหิน วัตถุ จำพวก ปลาสเตอร์ ปูนขาว และซีเมนต์
ตอนที่ 26 สินแร่ ตะกรัน และเถ้า
ตอนที่ 27 เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ และผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขทีได้จากแร่

หมวด 6 ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมทางเคมีหรือ อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกัน

ตอนที่ 25 เกลือ กำมะถัน ดิน และหิน วัตถุ จำพวก ปลาสเตอร์ ปูนขาว และซีเมนต์
ตอนที่ 26 สินแร่ ตะกรัน และเถ้า
ตอนที่ 27 เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ และผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขทีได้จากแร่
กฎหมายควบคุม

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการสารเคมีจำนวนมาก ในทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ได้จัดให้เรื่องกฎหมายควบคุม เป็นชุดข้อมูลหลัก ที่มีความสำคัญต้องใส่ไว้ในทำเนียบ ชุดข้อมูลหลักนี้ แบ่งเป็นข้อมูลย่อย 15 ชุด ซึ่งได้พิจารณากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวสารโดยตรง ได้ 10 กฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวสารโดยตรงอีก 5 ข้อตกลง ที่นำมาใช้ เพื่อแสดงถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมทางกฎหมายของสารที่บรรจุอยู่ในทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยสารบางตัวอาจถูกควบคุมโดยกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศหลายอัน แต่บางตัวอาจไม่ถูกควบคุมโดยกฎหมายใด ทั้งนี้ กฎหมายทั้ง 10 กฎหมาย และข้อตกลงระหว่างประเทศ 5 ข้อตกลง มีดังต่อไปนี้

1. พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ซึ่งมีการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำเข้ายา เภสัชเคมีภัณฑ์ เกลือของเภสัชเคมีภัณฑ์ และเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2545 เพื่อควบคุมสารเคมีและเภสัชเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการผลิตยา ซึ่งต้องควบคุม อย่างเข้มงวดในการนำเข้า 16 ชนิด เพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิดในปศุสัตว์เพื่อสนับสนุนนโยบายแห่งชาติเรื่องอาหารปลอดภัย
2. พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งมีการออกประกาศกระทรวงกลาโหมกำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต พ.ศ. 2551 กำหนดให้ อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสีหรือสารนิวเคลียร์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือสงคราม เป็นยุทธภัณฑ์ ซึ่งรวมถึง สารเคมีที่ใช้ในการสงครามเคมี สารเคมีและสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิด
3. พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ซึ่งได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 โดยต่อมาได้มีการออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องบัญชีรายชื่อสารอันตราย เมื่อปี พ.ศ. 2556
4. พ.ร.บ. ปุ๋ย พ.ศ. 2518 กำกับควบคุมสารที่รวมถึงปุ๋ยเคมี
5. พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 กำกับควบคุมสารเคมีที่เป็นวัสดุนิวเคลียร์ วัสดุกัมมันตรังสี
6. พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ. ฉบับที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2530 ซึ่งกำกับควบคุมเป็นยา ซึ่งรวมถึงสารเคมีที่เป็นยา
7. พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทยาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 จนถึงล่าสุด คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องดังกล่าว ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2557
8. พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นฉบับหลัก และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 ซึ่งได้มีการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2556 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558
9. พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงล่าสุด พ.ศ. 2556 และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555
10. พ.ร.ก. ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2538 เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์เป็นสารระเหย
11. อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี (Chemical Weapons Convention: CWC) เป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และการทําลายอาวุธเคมีที่ได้ผลิตและมีอยู่ในครอบครองก่อนหน้าการจัดทําอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการลดอาวุธทั่วโลก สารเคมีหรือกลุ่มสารเคมีในบัญชีรายการสารเคมีตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีแบ่งเป็น 3 รายการ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา ออกตามลักษณะการพัฒนา ผลิต สะสม และใช้เป็นอาวุธเคมี ภัยต่อวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ต่ออนุสัญญา และการใช้ในเชิงการค้า โดยสารเคมีทั้ง 3 รายการนั้นในแต่ละบัญชีรายการประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วน เอ คือ สารเคมีพิษ ( A. Toxic chemicals) และส่วน บี คือ สารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษ (B. Precursors)
12. พิธีสารมอนทรีล (Montreal Protocol on substances that deplete the ozone layer) เป็นสนธิสัญญาสากลภายใต้อนุสัญญาเวียนนา ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามเป็นประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพื่อควบคุมยับยั้งและรณรงค์ให้มีการลดการผลิตและใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน หรือที่เรียกว่า ODS โดยเน้นกลุ่มสารไฮโดรคาร์บอน-ฮาโลเจน โดยแบ่งสารออกเป็นกลุ่มตามระยะเวลาที่จะให้ยุติการผลิตหลังประกาศ คือ Annex A ประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 1 คือ Chlorofluorocarbons และกลุ่มที่ 2 คือ Halons Annex B ประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 1 คือ Other fully halogenated CFCs กลุ่มที่ 2 คือ Carbon tetrachloride และกลุ่มที่ 3 คือ 1,1,1-Trichloroethane Annex C ประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 1 คือ HCFCs กลุ่มที่ 2 คือ HBFCs และกลุ่มที่ 3 คือ Bromochloromethane และ Annex E ประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 1 คือ Methyl bromide
13. อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade: PIC) กำหนดให้ กลุ่มภาคีสมาชิกการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ ต้องควบคุมให้มีการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าก่อนการนำเข้าหรือส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้ามหรือต้องจัดการการใช้อย่างเข้มงวด รวมทั้งสารเคมีสูตรผสมสำหรับป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตามหลักการของ UNEP และ FAO ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ทั้งนี้ สารเคมีที่ถูกควบคุมภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ หรือ PICs กำหนดไว้ใน Annex III ทั้งหมด 50 รายการ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (pesticides) 34รายการ สูตรผสมของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (pesticide formulation) ที่เป็นอันตรายร้ายแรง 3รายการ และสารเคมีอุตสาหกรรม (industrial chemicals) 15 รายการ และอีก 1 รายการจัดเป็นทั้งสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์สารเคมีอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2560)
14. อนุสัญญาสต๊อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) กำหนดให้ภาคีสมาชิก จำกัดการใช้ หรือยกเลิกการผลิต การใช้ การทิ้ง และเก็บรักษาสารมลพิษตกค้างยาวนาน เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารเหล่านี้ การนำเข้าและส่งออกสารมลพิษตกค้างยาวนาน จะกระทำเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่อนุญาต อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2547 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในวันที่ 31 มกราคม 2548 ทั้งนี้ สารมลพิษตกค้างยาวนานหรือ POPs ที่ควบคุมภายใต้อนุสัญญานี้ มีจำนวน 30 รายการ แบ่งเป็นสารในกลุ่มที่ต้องยกเลิก (Annex A Elimination) 24 รายการ กลุ่มที่ต้องควบคุมเข้มงวด (Annex B Restriction) 2 รายการ และกลุ่มที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ (Annex C Unintentional Production) 7 รายการ ซึ่งมี 4 รายการที่ซ้ำกับภาคผนวก A (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2560)
15. อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (Minamata Convention on Mercury) เป็นอนุสัญญาที่มุ่งเน้นการควบคุม ลด และเลิกการใช้และการปลดปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิด แหล่งอุปทานและการค้าปรอท ผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท กระบวนการผลิตที่มีการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอท การทำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้านและขนาดเล็ก รวมไปถึงของเสียปรอทที่จะต้องได้รับการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้ร่วมลงนามเป็นประเทศสมาชิกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 และอนุสัญญามีผลบังคับใช้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560 สารปรอทและสารประกอบปรอทที่ถูกควบคุมภายใต้อนุสัญญานี้ กำหนดไว้ในภาคผนวก A โดยจะไม่อนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า และส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท ภายใต้ภาคผนวก A ในปี 2563
ปริมาณ หรือ Quantity

เป็นชุดข้อมูลที่กำหนดให้ มีไว้ในทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ปี 2555 มีหน่วยเป็นกิโลกรัม หรือ kg เป็นปริมาณที่สารนั้นมีการนำเข้าและหรือผลิตในปี 2555 ตามข้อมูลที่รวบรวมได้ ในกรณีของข้อมูลเรื่องปริมาณนี้ ตัวเลขข้อมูลปริมาณของสารเคมีที่ถูกนำเข้านั้น มีระดับของข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงพอสมควร เนื่องจากเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดตามรายใบขนที่มีการนำเข้ามาจริง อย่างไรก็ดี ตัวเลขข้อมูลปริมาณสารในส่วนของการผลิต อาจเป็นข้อมูลที่ต่ำกว่าความเป็นจริงในบางส่วน เนื่องจากข้อมูลบางส่วนที่ได้ ไม่ได้ระบุตัวเลขการผลิตที่ชัดเจน ดังนั้น ข้อมูลด้านปริมาณของสารในส่วนของการผลิตนั้น จึงเป็นข้อมูลปริมาณที่ถือเป็นข้อมูลประมาณการ เพื่อแสดงระดับปริมาณของสารที่คาดว่ามีการผลิตในปี

Copyright ๑ 2017 Thailand Existing Chemicals Inventory (TECI) All rights reserved